การประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567
วันนี้ (21 กพ 67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวพธู ทองจุล ผู้อำนวยการกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกของปี โดยมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
ซึ่งที่ประชุมได้มีการรายงานผลการดำเนินงาน มาตรการ EV 3 และ EV 3.5 รวมทั้งพิจารณามาตรการเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ และการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยมีการพิจารณามาตรการที่สำคัญ ได้แก่
(1) ผ่อนผันให้รถยนต์ที่มีเฉพาะ AC Charge สามารถเข้าร่วม EV 3.5 ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่มาตรการ EV3.5
(2) เห็นชอบมาตรการส่งเสริมรถโดยสารไฟฟ้า และ รถบรรทุกไฟฟ้า โดยให้ผู้ประกอบการที่ปรับเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้า สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 2 เท่า สำหรับรถที่ผลิตในประเทศ และ 1.5 เท่า สำหรับรถที่นำเข้า
(3) เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) โดยให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนนำเสนอคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนเงินลงทุนส่วนหนึ่งสำหรับผู้ผลิตแบตเตอรี่ระดับโลกที่มาลงทุนผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ในประเทศ รวมทั้งให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่อยู่ภายใต้คณะกรรมการฯ โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ศึกษาแนวทางบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว เพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป
(4) เห็นชอบการทบทวนค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ โดยมอบให้กระทรวงพลังงานพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และค่าไฟ รวมทั้งนิยามของสถานีสาธารณะ และ
(5) เห็นชอบองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ ที่จะตั้งขึ้นใหม่ ได้แก่
- คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน (ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน)
- คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า (ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน) และ
- คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง (EV Conversion) (ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน)
ซึ่งที่ประชุมได้มีการรายงานผลการดำเนินงาน มาตรการ EV 3 และ EV 3.5 รวมทั้งพิจารณามาตรการเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ และการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยมีการพิจารณามาตรการที่สำคัญ ได้แก่
(1) ผ่อนผันให้รถยนต์ที่มีเฉพาะ AC Charge สามารถเข้าร่วม EV 3.5 ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่มาตรการ EV3.5
(2) เห็นชอบมาตรการส่งเสริมรถโดยสารไฟฟ้า และ รถบรรทุกไฟฟ้า โดยให้ผู้ประกอบการที่ปรับเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้า สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 2 เท่า สำหรับรถที่ผลิตในประเทศ และ 1.5 เท่า สำหรับรถที่นำเข้า
(3) เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) โดยให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนนำเสนอคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนเงินลงทุนส่วนหนึ่งสำหรับผู้ผลิตแบตเตอรี่ระดับโลกที่มาลงทุนผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ในประเทศ รวมทั้งให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่อยู่ภายใต้คณะกรรมการฯ โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ศึกษาแนวทางบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว เพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป
(4) เห็นชอบการทบทวนค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ โดยมอบให้กระทรวงพลังงานพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และค่าไฟ รวมทั้งนิยามของสถานีสาธารณะ และ
(5) เห็นชอบองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ ที่จะตั้งขึ้นใหม่ ได้แก่
- คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน (ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน)
- คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า (ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน) และ
- คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง (EV Conversion) (ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน)