สศอ. จัดสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ขับเคลื่อนโครงการ Flagship ของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยกับอนุภูมิภาคและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
วันที่ 16 กันยายน 2567 นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษา เรื่อง “พัฒนาความร่วมมือเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ พลิกโอกาสเกษตรแปรรูปไทย รับการปรับห่วงโซ่อุปทานโลก” โดยมี นายชาลี ขันศิริ ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ กล่าวรายงาน ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส ควีนสปาร์ค ถนนสุขุมวิท และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาจำนวน 104 ราย
การสัมมนาดังกล่าวเป็นการดำเนินงานภายใต้ภายใต้โครงการการพัฒนาความร่วมมือด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ระหว่างประเทศในสาขาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระดับอนุภูมิภาคและประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2567 ร่วมกับบริษัทโบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี ที่ปรึกษาโครงการฯ โดยมีการนำเสนอผลการศึกษาภายใต้การดำเนินโครงการฯ ตลอดระยะเวลา 4 เดือนได้แก่
1) ผลศึกษาวิเคราะห์พบว่า ปัจจุบันของประเทศไทยที่มีองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี โดยเฉพาะในด้านการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร อาทิ ข้าว ผัก และผลไม้ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม อย่างไรก็ดี การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตยังไม่เป็นที่แพร่หลายในระดับชุมชน และมีระดับเทคโนโลยียังอยู่ในขั้นต้น-กลาง ซึ่งยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในอนาคต ร่วมกับการศึกษาเรียนรู้จากประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาซึ่งมีระดับเทคโนโลยีที่สูงกว่าไทย ตลอดจนมีโอกาสในการเผยแพร่องค์ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรในระดับที่มีความซับซ้อนไม่มากให้กับประเทศอนุภูมิภาคได้ นอกจากนี้ ไทยยังมีโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาล รวมทั้งมาตรฐานสากลต่าง ๆ ในสินค้าเกษตรแปรรูปและปศุสัตว์ เพื่อขยายตลาดในการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งการพัฒนากระบวนการผลิต ร่วมกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้สินค้าให้มีคุณภาพและผลิตภาพสูงขึ้น จะเป็นแนวทางหลักในการนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานสินค้า และการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศร่วมกัน
2) ภาคการเสวนาจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ได้นำเสนอภารกิจที่เกี่ยวข้องการการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และสถานะปัจจุบันของไทย โดยหน่วยงานด้านแผนได้มีการบรรจุสาขาดังกล่าวไว้ในแผนระดับต่างๆของชาติสอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ และมีการประเมินผลในภาคเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานภาคปฏิบัติได้มีการพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะผ่านกิจกรรมการส่งเสริมต่างๆ ขณะที่ภาคการศึกษาเน้นด้านการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและใช้ประโยชน์จากของเสีย รวมถึงบูรณาการคาวมร่วมมือกับสาขาวิชาอื่นๆ เช่น การผลิตอาหารสัตว์ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการเสวนามีความเห็นว่า นอกจากการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อเสริมสร้างการกินดีอยู่ดี การพัฒนานวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต การรักษาสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว ไทยมีโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาลซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงอาหาร แต่ยังรวมถึงสินค้าและบริการอื่นๆ จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรของประเทศมุสลิมทั่วโลก ตลอดจนการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานวิจัย เพื่อให้การขับเคลื่อนเทคโนโลยีการเกษตรอุตสาหกรรมของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
การสัมมนาดังกล่าวเป็นการดำเนินงานภายใต้ภายใต้โครงการการพัฒนาความร่วมมือด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ระหว่างประเทศในสาขาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปเพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระดับอนุภูมิภาคและประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2567 ร่วมกับบริษัทโบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี ที่ปรึกษาโครงการฯ โดยมีการนำเสนอผลการศึกษาภายใต้การดำเนินโครงการฯ ตลอดระยะเวลา 4 เดือนได้แก่
1) ผลศึกษาวิเคราะห์พบว่า ปัจจุบันของประเทศไทยที่มีองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี โดยเฉพาะในด้านการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร อาทิ ข้าว ผัก และผลไม้ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม อย่างไรก็ดี การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตยังไม่เป็นที่แพร่หลายในระดับชุมชน และมีระดับเทคโนโลยียังอยู่ในขั้นต้น-กลาง ซึ่งยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในอนาคต ร่วมกับการศึกษาเรียนรู้จากประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาซึ่งมีระดับเทคโนโลยีที่สูงกว่าไทย ตลอดจนมีโอกาสในการเผยแพร่องค์ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรในระดับที่มีความซับซ้อนไม่มากให้กับประเทศอนุภูมิภาคได้ นอกจากนี้ ไทยยังมีโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาล รวมทั้งมาตรฐานสากลต่าง ๆ ในสินค้าเกษตรแปรรูปและปศุสัตว์ เพื่อขยายตลาดในการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งการพัฒนากระบวนการผลิต ร่วมกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้สินค้าให้มีคุณภาพและผลิตภาพสูงขึ้น จะเป็นแนวทางหลักในการนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานสินค้า และการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศร่วมกัน
2) ภาคการเสวนาจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ได้นำเสนอภารกิจที่เกี่ยวข้องการการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และสถานะปัจจุบันของไทย โดยหน่วยงานด้านแผนได้มีการบรรจุสาขาดังกล่าวไว้ในแผนระดับต่างๆของชาติสอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ และมีการประเมินผลในภาคเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานภาคปฏิบัติได้มีการพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะผ่านกิจกรรมการส่งเสริมต่างๆ ขณะที่ภาคการศึกษาเน้นด้านการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและใช้ประโยชน์จากของเสีย รวมถึงบูรณาการคาวมร่วมมือกับสาขาวิชาอื่นๆ เช่น การผลิตอาหารสัตว์ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการเสวนามีความเห็นว่า นอกจากการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อเสริมสร้างการกินดีอยู่ดี การพัฒนานวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต การรักษาสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว ไทยมีโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาลซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงอาหาร แต่ยังรวมถึงสินค้าและบริการอื่นๆ จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรของประเทศมุสลิมทั่วโลก ตลอดจนการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานวิจัย เพื่อให้การขับเคลื่อนเทคโนโลยีการเกษตรอุตสาหกรรมของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด