ผศอ. ภาสกรฯ ร่วมเป็นเกียรติกล่าวเปิดงาน “Tokyo-Thailand Green Tech Business Connecting 2024: Sustainability and Productivity” ประสานความร่วมมืออุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่นมุ่งสู่อุตสาหกรรมเกษตรสีเขียว สอดรับนโยบาย รวอ. มุ่งเน้น “การปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐก
วันที่ 29 ตุลาคม 2567 นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกล่าวเปิดงาน “Tokyo-Thailand Green Tech Business Connecting 2024: Sustainability and Productivity” ณ ห้อง Grand Ballroom โรงแรม CARLTON สุขุมวิท กรุงเทพฯ จัดโดย Tokyo SME Support Center และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ในการนี้ ผศอ. ได้กล่าวแสดงความชื่นชม Tokyo SME Support Center ในการจัดงานและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มากล่าวเปิดงาน “Tokyo-Thailand Green Tech Business Connecting 2024: Sustainability and Productivity” ซึ่งมีประเด็นสำคัญการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเกษตร และการแปรรูปอาหาร โดยความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นที่มีมาอย่างยาวนานและได้เฉลิมฉลองครบรอบ 135 ปี ในปี 2565 และได้ริเริ่มความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับ Tokyo SME Support Center ตั้งแต่ปี 2558 ที่ได้มาตั้งสำนักงานที่กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในส่วนของการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสีเขียวในอุตสาหกรรมเกษตรและการแปรรูปอาหาร ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้น “การปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่” หรือ Industrial Reform โดยมีพันธกิจที่สำคัญ 3 ประการ และ 1 ใน 3 พันธกิจที่สำคัญ คือ การสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต สร้าง New S-Curve กับประเทศด้วยสินค้าเกษตรเทคโนโลยีสูง พลาสติกชีวภาพ โอลีโอเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมยานยนต์ EV เซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยสินค้าเกษตรแปรรูปได้มีการพัฒนาตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ (อาทิ การอบรมเกษตรกรให้มีการวางแผนในการเพาะปลูก การทำการเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farming) อุตสาหกรรมกลางน้ำ (อาทิ การแปรรูปสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น การทำอาหารสำหรับผู้สูงอายุ หรือ Functional Food) อุตสาหกรรมปลายน้ำ (อาทิ การเชื่อมโยงตลาด) นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้สร้างความร่วมมือกับญี่ปุ่นโดยเน้นในเรื่องการสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่างกันควบคู่การจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) การจัดงานในวันนี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ไทยและญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมบนพื้นฐานของผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
สำหรับนายนากานิชิ มิตซึรุฯ ประธานศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ร่วมกล่าวว่า โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือแนวทางความร่วมมือในเรื่องสังคมผู้สูงอายุ Aging Society, Climate Change และ Global Warming รวมถึงแนวทางการจัด Business Matching ซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วม อาทิ NEDO (New Energy and Industrial Technology Development Organization (องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น) TIRI (Tokyo Metropolitan Industrial Technology Research Institute-สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมแห่งมหานครโตเกียว ประจำกรุงเทพฯ) JCC (Japanese Chamber of Commerce, Bangkok-หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ) TDIA (Thai Tool and Die Industry Association-สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย) JCC (Japan Chamber of Commerce-หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ) NIA[(National Innovation Agency (Public Organization)-สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด โดยนายนากานิชิ ได้กล่าวถึงประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรมการเกษตร โดยมีอัตราร้อยละ 10 ของ GDP ภายในประเทศมาจากการเกษตร อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา ปัญหาด้านการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ การขาดแคลนแรงงาน ผลผลิตที่ลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องแก้ไขและพัฒนาให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต พัฒนาการขนส่ง ตลอดจนการบริโภคและการกำจัดกากอุตสาหกรรมให้เกิดความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของอุตสาหกรรม
งานสัมมนาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรกเป็นการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “มาตรการและนโยบายส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมเกษตร” โดย นายอนุวัตร จุลินทร ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ช่วงที่สองเป็นการเสวนา ในหัวข้อ “สำรวจปัจจัยและความท้าทายให้ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยเทคโนโลยีสีเขียว” โดยมีผู้เข้าร่วมการเสวนาจากหน่วยงานและบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย บริษัทไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจาะตลาดด้วยสินค้าเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะและผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและช่วงที่สามเป็นช่วง Pitching Session โดยธุรกิจ Startup ด้านเกษตรอัจฉริยะและอาหาร ทั้งนี้ ในส่วนของการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “มาตรการและนโยบายส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมเกษตร” (Smart Farming/Smart Agriculture) โดย นายอนุวัตรฯ โดยบรรยายถึงนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมการทำเกษตรอัจริยะและการแปรรูปสินค้าเกษตรตลอดทั้งวงจรของประเทศไทยโดยเฉพาะมาตรการของกระทรวงอุตสาหกรรม และการเสวนาร่วมกับภาคเอกชนจากบริษัท Nihon Agri (Thailand) บริษัท C.C.Autopart และ Konoike ที่นำเสนอประสบการณ์ในด้านการทำการเกษตร การนำเทคโนโลยีของญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ และปัญหาและความต้องการด้านโลจิสติกในไทย โดยได้เสนอแนะแนวทางในการในความร่วมมือในด้านการพัฒนาเกษตรอัจริยะกับญี่ปุ่นในด้านต่าง ๆ เช่นการวิจัยร่วม การทำแปลงจำลอง (Pilot Project) ตลอดจนการส่งเสริมผู้ประกอบการบริการที่เกี่ยวข้องกับสนับสนุนการเกษตรอัจริยะรวมถึงผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นอย่างครบวงจร
ในการนี้ ผศอ. ได้กล่าวแสดงความชื่นชม Tokyo SME Support Center ในการจัดงานและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มากล่าวเปิดงาน “Tokyo-Thailand Green Tech Business Connecting 2024: Sustainability and Productivity” ซึ่งมีประเด็นสำคัญการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเกษตร และการแปรรูปอาหาร โดยความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่นที่มีมาอย่างยาวนานและได้เฉลิมฉลองครบรอบ 135 ปี ในปี 2565 และได้ริเริ่มความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับ Tokyo SME Support Center ตั้งแต่ปี 2558 ที่ได้มาตั้งสำนักงานที่กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในส่วนของการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสีเขียวในอุตสาหกรรมเกษตรและการแปรรูปอาหาร ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้น “การปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่” หรือ Industrial Reform โดยมีพันธกิจที่สำคัญ 3 ประการ และ 1 ใน 3 พันธกิจที่สำคัญ คือ การสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต สร้าง New S-Curve กับประเทศด้วยสินค้าเกษตรเทคโนโลยีสูง พลาสติกชีวภาพ โอลีโอเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมยานยนต์ EV เซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยสินค้าเกษตรแปรรูปได้มีการพัฒนาตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ (อาทิ การอบรมเกษตรกรให้มีการวางแผนในการเพาะปลูก การทำการเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farming) อุตสาหกรรมกลางน้ำ (อาทิ การแปรรูปสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น การทำอาหารสำหรับผู้สูงอายุ หรือ Functional Food) อุตสาหกรรมปลายน้ำ (อาทิ การเชื่อมโยงตลาด) นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้สร้างความร่วมมือกับญี่ปุ่นโดยเน้นในเรื่องการสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่างกันควบคู่การจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) การจัดงานในวันนี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ไทยและญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมบนพื้นฐานของผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
สำหรับนายนากานิชิ มิตซึรุฯ ประธานศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ร่วมกล่าวว่า โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือแนวทางความร่วมมือในเรื่องสังคมผู้สูงอายุ Aging Society, Climate Change และ Global Warming รวมถึงแนวทางการจัด Business Matching ซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วม อาทิ NEDO (New Energy and Industrial Technology Development Organization (องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น) TIRI (Tokyo Metropolitan Industrial Technology Research Institute-สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมแห่งมหานครโตเกียว ประจำกรุงเทพฯ) JCC (Japanese Chamber of Commerce, Bangkok-หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ) TDIA (Thai Tool and Die Industry Association-สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย) JCC (Japan Chamber of Commerce-หอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ) NIA[(National Innovation Agency (Public Organization)-สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด โดยนายนากานิชิ ได้กล่าวถึงประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรมการเกษตร โดยมีอัตราร้อยละ 10 ของ GDP ภายในประเทศมาจากการเกษตร อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา ปัญหาด้านการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ การขาดแคลนแรงงาน ผลผลิตที่ลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องแก้ไขและพัฒนาให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต พัฒนาการขนส่ง ตลอดจนการบริโภคและการกำจัดกากอุตสาหกรรมให้เกิดความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของอุตสาหกรรม
งานสัมมนาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรกเป็นการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “มาตรการและนโยบายส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมเกษตร” โดย นายอนุวัตร จุลินทร ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ช่วงที่สองเป็นการเสวนา ในหัวข้อ “สำรวจปัจจัยและความท้าทายให้ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยเทคโนโลยีสีเขียว” โดยมีผู้เข้าร่วมการเสวนาจากหน่วยงานและบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย บริษัทไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจาะตลาดด้วยสินค้าเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะและผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและช่วงที่สามเป็นช่วง Pitching Session โดยธุรกิจ Startup ด้านเกษตรอัจฉริยะและอาหาร ทั้งนี้ ในส่วนของการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “มาตรการและนโยบายส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมเกษตร” (Smart Farming/Smart Agriculture) โดย นายอนุวัตรฯ โดยบรรยายถึงนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมการทำเกษตรอัจริยะและการแปรรูปสินค้าเกษตรตลอดทั้งวงจรของประเทศไทยโดยเฉพาะมาตรการของกระทรวงอุตสาหกรรม และการเสวนาร่วมกับภาคเอกชนจากบริษัท Nihon Agri (Thailand) บริษัท C.C.Autopart และ Konoike ที่นำเสนอประสบการณ์ในด้านการทำการเกษตร การนำเทคโนโลยีของญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ และปัญหาและความต้องการด้านโลจิสติกในไทย โดยได้เสนอแนะแนวทางในการในความร่วมมือในด้านการพัฒนาเกษตรอัจริยะกับญี่ปุ่นในด้านต่าง ๆ เช่นการวิจัยร่วม การทำแปลงจำลอง (Pilot Project) ตลอดจนการส่งเสริมผู้ประกอบการบริการที่เกี่ยวข้องกับสนับสนุนการเกษตรอัจริยะรวมถึงผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นอย่างครบวงจร