สศอ. ร่วม กสทช. ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม Smart Industry หัวข้อ “มุมมองต่อการยกระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G & beyond ของประเทศไทย”
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 นายชาลี ขันศิริ ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นวิทยากรนำเสนอและเสวนาในงานสัมมนาการรับฟังความคิดเห็น (Focus Group) “บทวิเคราะห์เพืีอเสนอแนะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่องรวมถึง 5G Use Case” ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ในการนี้ นายชาลีฯ ได้นำเสนอหัวข้อ ”มุมมองภาคอุตสาหกรรมต่อการยกระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G & beyond ของประเทศไทย“ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการเตรียมการรองรับเทคโนโลยีดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมต้นน้ำ ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ได้แก่ Printed Circuit Board : PCB และ Semiconductor ที่เชื่อมโยงไปถึงอุตสาหกรรมอัจฉริยะ หรือ Smart Industry ตามแผนปฏิบัติการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ในผลิตภัณฑ์เป้าหมาย ได้แก่ Smart Home Smart Factory Smart Hospital & Health Smart Farm และ Electronic for EV ซึ่งมีความสอดคล้องกับผลการศึกษาของ กสทช. ในการใช้ประโยชน์ 5G ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต
พร้อมกันนี้ ได้นำเสนอ use case ที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัล 5G & beyond มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในการจัดทำระบบปฏิบัติการ หรือ Application ด้านการบริการจัดเก็บ-รวบรวม-ขนส่งขยะและซากผลิตภัณฑ์ตามประเภท E-Waste เพื่อตรวจสอบย้อนกลับและติดตามตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่การออกแบบ การวางแผนการผลิต การซ่อมบำรุง การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดการคลังสินค้า การขนส่ง การขาย และการบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเทคโนโลยีดิจิทัล 5G เป็นปัจจัยนิเวศอุตสาหกรรมที่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่จะพัฒนาให้ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบอัตโนมัติอัตโนมัติและอุปกรณ์ การสื่อสาร ร่วมเติบโตทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ความเห็นจากการสัมมนาดังกล่าว จะนำไปรวบรวมและนำเสนอเป็นบทวิเคราะห์ผลการศึกษา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำนโยบายและข้อเสนอในการเปิดประมูลจัดสรรคลื่นความถี่ของ กสทช. ในปี 2568 ต่อไป
ในการนี้ นายชาลีฯ ได้นำเสนอหัวข้อ ”มุมมองภาคอุตสาหกรรมต่อการยกระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G & beyond ของประเทศไทย“ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการเตรียมการรองรับเทคโนโลยีดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมต้นน้ำ ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ได้แก่ Printed Circuit Board : PCB และ Semiconductor ที่เชื่อมโยงไปถึงอุตสาหกรรมอัจฉริยะ หรือ Smart Industry ตามแผนปฏิบัติการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ในผลิตภัณฑ์เป้าหมาย ได้แก่ Smart Home Smart Factory Smart Hospital & Health Smart Farm และ Electronic for EV ซึ่งมีความสอดคล้องกับผลการศึกษาของ กสทช. ในการใช้ประโยชน์ 5G ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต
พร้อมกันนี้ ได้นำเสนอ use case ที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัล 5G & beyond มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในการจัดทำระบบปฏิบัติการ หรือ Application ด้านการบริการจัดเก็บ-รวบรวม-ขนส่งขยะและซากผลิตภัณฑ์ตามประเภท E-Waste เพื่อตรวจสอบย้อนกลับและติดตามตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่การออกแบบ การวางแผนการผลิต การซ่อมบำรุง การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดการคลังสินค้า การขนส่ง การขาย และการบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเทคโนโลยีดิจิทัล 5G เป็นปัจจัยนิเวศอุตสาหกรรมที่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่จะพัฒนาให้ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบอัตโนมัติอัตโนมัติและอุปกรณ์ การสื่อสาร ร่วมเติบโตทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ความเห็นจากการสัมมนาดังกล่าว จะนำไปรวบรวมและนำเสนอเป็นบทวิเคราะห์ผลการศึกษา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำนโยบายและข้อเสนอในการเปิดประมูลจัดสรรคลื่นความถี่ของ กสทช. ในปี 2568 ต่อไป