รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้การต้อนรับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน หารือความร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย-จีน
วันที่ 16 มกราคม 2568 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รวอ.) พร้อมด้วยนางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายภัทรพล ลิ้มภักดี รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และนายสุเมธ ตั้งประเสริฐ ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมให้การต้อนรับ นายจาง หยุนหมิง (H.E. Mr. ZHANG Yunming) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน และคณะ ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ ณ ห้องประชุม 20-1 ชั้น 20 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
รวอ. ได้กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงอุตสาหกรรมในการเดินหน้าปฏิรูประบบอุตสาหกรรมไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นโอกาสของไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเป็นฐานการผลิตในประเทศไทย โดยปัจจุบันจีนเป็นผู้ลงทุนที่สำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย โดยเห็นว่า ปัจจัยของความสำเร็จนอกเหนือจากจำนวนการผลิตแล้ว ยังควรมีการพัฒนา 1)ด้านการตลาด 2) บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 3) ห่วงโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม และ 4) การถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน โดยเฉพาะในสาขาระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการผลิต โดยไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางถนนเชื่อมภาคต่าง ๆ ของไทย รวมถึงระบบ 5G โทรคมนาคม และระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนทั้งภาคการผลิตและภาคประชาชน นอกจากนี้ ได้เชิญชวนฝ่ายจีนเข้ามาลงทุนและพัฒนาในสาขาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรม BCG ในประเทศไทย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวขอบคุณฝ่ายไทยที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมทั้งกล่าวถึงการพบกันระหว่างประธานาธิบดีของจีนกับนายกรัฐมนตรีของไทยในการประชุมเอเปคเมื่อเดือนพฤจิกายน 2567 ซึ่งได้เห็นพ้องถึงการมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน ในโอกาสนี้ ขอเรียนเชิญรวอ. เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีอุตสาหกรรมอาเซียนและจีน รวมทั้งงาน Expo ในเดือนกันยายน 2568 ทั้งนี้ ในปี 2566 จีนมีสัดส่วนการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ามากกว่า 100% ในสาขายานยนต์ไฟฟ้า เซลล์แสงอาทิตย์ การแปรรูปยางพารา และอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในสาขายานยนต์ไฟฟ้าซึ่งมีการพัฒนาคุณภาพสินค้าจนเป็นที่ยอมรับในนานาประเทศ โดยรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศ โดยสาขาที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตคือแบตเตอรี่ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ในการนี้ ขอขอบคุณฝ่ายไทยที่ให้การสนับสนุนการลงทุนและให้การดูแลภาคอุตสาหกรรมของจีนในประเทศไทย โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอการพัฒนาร่วมกันทั้ง 4 ด้านของ รวอ.
รวอ. ได้กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงอุตสาหกรรมในการเดินหน้าปฏิรูประบบอุตสาหกรรมไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นโอกาสของไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเป็นฐานการผลิตในประเทศไทย โดยปัจจุบันจีนเป็นผู้ลงทุนที่สำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย โดยเห็นว่า ปัจจัยของความสำเร็จนอกเหนือจากจำนวนการผลิตแล้ว ยังควรมีการพัฒนา 1)ด้านการตลาด 2) บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 3) ห่วงโซ่อุปทานภาคอุตสาหกรรม และ 4) การถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน โดยเฉพาะในสาขาระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการผลิต โดยไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางถนนเชื่อมภาคต่าง ๆ ของไทย รวมถึงระบบ 5G โทรคมนาคม และระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนทั้งภาคการผลิตและภาคประชาชน นอกจากนี้ ได้เชิญชวนฝ่ายจีนเข้ามาลงทุนและพัฒนาในสาขาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรม BCG ในประเทศไทย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวขอบคุณฝ่ายไทยที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมทั้งกล่าวถึงการพบกันระหว่างประธานาธิบดีของจีนกับนายกรัฐมนตรีของไทยในการประชุมเอเปคเมื่อเดือนพฤจิกายน 2567 ซึ่งได้เห็นพ้องถึงการมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน ในโอกาสนี้ ขอเรียนเชิญรวอ. เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีอุตสาหกรรมอาเซียนและจีน รวมทั้งงาน Expo ในเดือนกันยายน 2568 ทั้งนี้ ในปี 2566 จีนมีสัดส่วนการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ามากกว่า 100% ในสาขายานยนต์ไฟฟ้า เซลล์แสงอาทิตย์ การแปรรูปยางพารา และอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในสาขายานยนต์ไฟฟ้าซึ่งมีการพัฒนาคุณภาพสินค้าจนเป็นที่ยอมรับในนานาประเทศ โดยรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศ โดยสาขาที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตคือแบตเตอรี่ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ในการนี้ ขอขอบคุณฝ่ายไทยที่ให้การสนับสนุนการลงทุนและให้การดูแลภาคอุตสาหกรรมของจีนในประเทศไทย โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอการพัฒนาร่วมกันทั้ง 4 ด้านของ รวอ.