สศอ. เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการกิจการทางทหารด้านไซเบอร์ เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ วุฒิสภา
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 นางนิอร สุขุม ผู้อำนวยการกองนโยบายอุตสาหกรรมมหภาค (ผอ.กม.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ กม. และ กร.1 เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการกิจการทางทหารด้านไซเบอร์ เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ วุฒิสภา ณ อาคารรัฐสภา โดยมีนาวาตรีวุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ วุฒิสภา เป็นประธานในที่ประชุม โดยที่ประชุม ได้หารือในประเด็น การผลิตและการซื้ออาวุธของหน่วยงานความมั่นคง การร่วมมือในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน การส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ/การผลิตในประเทศ การให้ผู้ช่วยฑูตทหารเป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้ผลิตของไทยกับผู้ซื้อต่างประเทศ การออกมาตรการอำนวยความสะดวก (เช่น Freezone การปรับกรอบระยะเวลากระบวนการส่งออกอาวุธ การออกมาตรฐานยุทโธปกรณ์ และการจัดทำฐานข้อมูลอุตสาหกรรมป้องกันเพื่อใช้ในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและจัดทำนโยบาย
ผอ.กม. ได้ให้ข้อมูลการดำเนินงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าในประเด็นติดตามเร่งด่วนให้ที่ประชุมทราบ เช่น การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และการจัดทำโครงการโครงการศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ สศอ.
คณะอนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า การส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ของไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และไทยควรผลิตชิ้นส่วน/อะไหล่ ของอาวุธและยุทโธปกรณ์ให้ได้มากที่สุด เพื่อความมั่นคงของไทย ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้หารือในเรื่องโครงการจ้างผลิตเรือฟริเกต 2 ลำ โดยจะผลิตในประเทศ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการหารือระหว่างกองทัพเรือกับสำนักงบประมาณ และขอให้หน่วยงานต่าง ๆ ช่วยสนับสนุนข้อมูลให้กับฝ่ายเลขาฯ เพื่อให้คณะอนุกรรมาธิการฯ นำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยต่อไป
ผอ.กม. ได้ให้ข้อมูลการดำเนินงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าในประเด็นติดตามเร่งด่วนให้ที่ประชุมทราบ เช่น การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และการจัดทำโครงการโครงการศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ สศอ.
คณะอนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า การส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ของไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และไทยควรผลิตชิ้นส่วน/อะไหล่ ของอาวุธและยุทโธปกรณ์ให้ได้มากที่สุด เพื่อความมั่นคงของไทย ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้หารือในเรื่องโครงการจ้างผลิตเรือฟริเกต 2 ลำ โดยจะผลิตในประเทศ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการหารือระหว่างกองทัพเรือกับสำนักงบประมาณ และขอให้หน่วยงานต่าง ๆ ช่วยสนับสนุนข้อมูลให้กับฝ่ายเลขาฯ เพื่อให้คณะอนุกรรมาธิการฯ นำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยต่อไป