สศอ. เข้าร่วมการการประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-สหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งที่ 5 ณ กรุงเทพฯ
วันที่ 16 มิถุนายน 2568 นายชาลี ขันศิริ ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-สหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งที่ 5 (ระดับรัฐมนตรี) โดยมีนายฉันทวิชญ์ ตัณฑสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล กรุงเทพฯ
ทั้งสองฝ่ายได้หารือแลกเปลี่ยนข้อมูลความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคี แนวทางการเพิ่มมูลค่าทางการค้าระหว่างสองประเทศ โอกาสในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อาทิ การลงทุน การเกษตร อุตสาหกรรม การเงินและการธนาคาร การขนส่งและโลจิสติกส์ รวมถึงโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านอื่น ๆ อาทิ พลังงาน เขตเศรษฐกิจพิเศษ ธุรกิจ การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ สาธารณสุข อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภูมิอากาศ การท่องเที่ยว ฮาลาล และความร่วมมือพหุภาคีและภูมิภาค สำหรับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ทั้งสองฝ่ายรับทราบผลการประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ไทย–รัสเซีย (Thai-Russia Working Group on Industrial Development Cooperation) ครั้งที่ 1 ภายใต้บันทึกความเข้าใจร่วมด้านความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรม ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของรัสเซีย และความเป็นไปได้ในการหารือเกี่ยวกับการจัดประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 2 ร่วมกันต่อไป และความคืบหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างไทย-รัสเซีย เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ (Ad-Hoc Working Group on Chrysotile Asbestos) รวมถึงรับทราบความประสงค์ของภาคธุรกิจของฝ่ายรัสเซียในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ฝ่ายรัสเซียให้ความสำคัญ อาทิ ปุ๋ย โลหะ อะลูมิเนียม วัสดุก่อสร้าง ยา เป็นต้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความสนใจร่วมกันในการสร้างความร่วมมือในอุตสาหกรรมฮาลาล อาทิ การจัดหาวัตถุดิบในการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ฮาลาล การพัฒนาตลาดสินค้าฮาลาลและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์การค้า การอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมฮาลาลและสาขาที่เกี่ยวข้องร่วมกัน และการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกัน โดยความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและความร่วมมือในอุตสาหกรรมฮาลาล การประชุมดังกล่าว ถือเป็นกลไกหนึ่งในการผลักดันขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การผลิตที่ยั่งยืน และอุตสาหกรรมฮาลาล ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับและส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายระหว่างไทยและรัสเซียให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ทั้งสองฝ่ายได้หารือแลกเปลี่ยนข้อมูลความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคี แนวทางการเพิ่มมูลค่าทางการค้าระหว่างสองประเทศ โอกาสในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อาทิ การลงทุน การเกษตร อุตสาหกรรม การเงินและการธนาคาร การขนส่งและโลจิสติกส์ รวมถึงโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านอื่น ๆ อาทิ พลังงาน เขตเศรษฐกิจพิเศษ ธุรกิจ การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ สาธารณสุข อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภูมิอากาศ การท่องเที่ยว ฮาลาล และความร่วมมือพหุภาคีและภูมิภาค สำหรับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ทั้งสองฝ่ายรับทราบผลการประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ไทย–รัสเซีย (Thai-Russia Working Group on Industrial Development Cooperation) ครั้งที่ 1 ภายใต้บันทึกความเข้าใจร่วมด้านความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรม ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของรัสเซีย และความเป็นไปได้ในการหารือเกี่ยวกับการจัดประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 2 ร่วมกันต่อไป และความคืบหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างไทย-รัสเซีย เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ (Ad-Hoc Working Group on Chrysotile Asbestos) รวมถึงรับทราบความประสงค์ของภาคธุรกิจของฝ่ายรัสเซียในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ฝ่ายรัสเซียให้ความสำคัญ อาทิ ปุ๋ย โลหะ อะลูมิเนียม วัสดุก่อสร้าง ยา เป็นต้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความสนใจร่วมกันในการสร้างความร่วมมือในอุตสาหกรรมฮาลาล อาทิ การจัดหาวัตถุดิบในการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ฮาลาล การพัฒนาตลาดสินค้าฮาลาลและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์การค้า การอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมฮาลาลและสาขาที่เกี่ยวข้องร่วมกัน และการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกัน โดยความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและความร่วมมือในอุตสาหกรรมฮาลาล การประชุมดังกล่าว ถือเป็นกลไกหนึ่งในการผลักดันขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การผลิตที่ยั่งยืน และอุตสาหกรรมฮาลาล ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับและส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายระหว่างไทยและรัสเซียให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต